ดาวพลูโตเป็นดาวเคราห์ที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยจักรวาล มีขนาดเล็กมาก และวงโคจรก็ต่างไปจากดาวดวงอื่นๆ จนเมื่อปี พ.ศ.2542(ค.ศ.1999) มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเสนอให้ดาวพลูโต เป็นแค่เพียงดาวเคราะห์น้อย เท่านั้น
ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไกลที่สุดเป็นลำดับ 9 ส่องกล้องค้นพบโดย ไคลด์ ทอมบอห์ (Clyde Tombough) เมื่อวันที่ 23 มรกราคม พ.ศ.2473(ค.ศ.1930) เป็นดาวเราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ความรู้ในเรื่องต่างๆของดาวดวงนี้ยังมีความชัดเจนไม่มากนัก เพราะเป็นดาวที่อยู่ห่างจากโลกถึง 38.46 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 7,400,000,000 กิโลเมตร ซึ่งหากจะส่งยานอวกาศขึ้นไปสำรวจดาวพลูโต จะต้องเดินทางอย่าน้อย 10-15 ปีเลยทีเดียว
ขนาดของดาวพลูโต
มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2390 กิโลเมตร
บริวาลของดาวพลูโต
ดาวพลูโตกับดวงจันทร์ทั้งสาม |
คารอน
นิกซ์
ไฮดรา
s/2011 P1
s/2012 P1
สีของดาวพลูโต
สีแดง/ส้มแดง
ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวพลูโต
5,906,376,200 กิโลเมตร
ระยะทางจากโลกถึงดาวพลูโต
5756376200 กิโลเมตร
ชั้นบรรยากาศ
จะประกอบด้วย ไนโตรเจน และ มีเทน
มวล
1.25×1022กก.
(0.0021×โลก)
การโหวตสถานภาพของพลูโตในที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล |
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์คือวัตถุทรงกลมที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ และอยู่ห่างจากดาวรอบข้างในวงโคจรของตัวเอง
ส่งผลให้ดาวพลูโตถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ (และวัตถุในระบบสุริยะ (นอกจากดวงอาทิตย์) ได้ถูกจัดใหม่เป็น 3 ประเภท คือ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ และวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ)
การประชุมเพื่อถกเถียงเรื่องสถานภาพของดาวพลูโต ใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์
ผลที่ได้จากการลงมติ ทำให้ดาวพลูโตหลุดออกจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะดวงที่ 9 หลังจากอยู่ในระบบสุริยะมานานถึง 76 ปี รวมไปถึง อีริส ดวงที่ 10 ที่นาซ่าเป็นผู้ค้นพบ กลายเป็นดาวเคราะห์แคระ
นักดาราศาสตร์หลายคนมีความเห็นคัดค้านในเรื่องนี้ แต่ก็จำเป็นต้องยอมรับกับการที่มนุษย์ได้มีความรู้ในระบบสุริยะมากขึ้น ได้เห็นหลายสิ่งเพิ่มขึ้นจากอดีต
ดาวพลูโตอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากและได้รับแสงน้อย จึงมีอุณหภูมิต่ำมาก นักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาดาวพลูโต และวัตถุในแถบไคเปอร์อย่างละเอียดในปี พ.ศ. 2558 เมื่อยานนิวฮอไรซันส์ของนาซา ซึ่งถูกปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 เดินทางไปถึงวงโคจรของดาวพลูโต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งยานจำเป็นต้องไปให้ทันเวลา เพื่อให้ทันต่อการศึกษาวิจัยดาวพลูโต เพราะหากเมื่อดาวพลูโตมีวงโคจรห่างไกลจากดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตจะเข้าสู่ฤดูหนาวยาวนานถึง 62 ปี และจะทำให้บรรยากาศกลายเป็นน้ำแข็งและร่วงลงสู่ผิวดาว ทำให้ไม่สามารถวิจัยบรรยากาศของดาวที่แท้จริงได้ และจะทำให้เสียองค์ประกอบทางด้านเคมีที่สำคัญในการวิจัยไป รวมถึง อุณหภูมิ ลม และโครงสร้างบรรยากาศของดาวไปด้วย
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องค้าบ
เปรียบเทียบขนาดโลก ดวงจันทร์ พลูโต เซดนา และควาอัวร์ |
พลูโตกับดวงจันทร์ทั้งสาม |
วงโคจรของดาวพลูโต (สีแดง) เทียบกับดาวเนปจูน (สีน้ำเงิน) แสดงให้เห็นว่าบางช่วงเวลาดาวพลูโตจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน |
วงโคจรของดาวพลูโตเทียบกับดาวเนปจูน (ภาพด้านข้าง จากมุมเงยประมาณ 10 องศา) |
แอนิเมชั่นการหมุนของดาวพลูโต |
โดย นายวณิชย์ แซ่ลิ่ม เลขที่ 11 ม3/9
จริงหรือไม่ที่ดาวพลู ไม่เคยโคจรรอบดวงอาทิตย์เลย
ตอบลบจริงครับ กว่าจะครบรอบก็ปี ค.ศ.2178 ถึงจะครบ1รอบ
ลบจริงหรือไม่ที่ดาวพลู ไม่เคยโคจรรอบดวงอาทิตย์เลย
ตอบลบบนดาวพลูโต เล็กกว่า ก็จริง แต่ แรงดึงดูดมากกว่า โลกถึง 1000 เท่า
ตอบลบน้ำหนัก 10 กิโลกรัมบนโลก จะมีน้ำหนัก 10,000 กิโลกรัม หรือ 10 ตัน บนดาวพลูโต
ดาวพลูโตจึงมีชั้นบรรยากาศใหญ่กว่าโลกมากมาย
ผมอยากรู้ว่าเเสงของดวงอาทิตย์ส่องไปถึงดาวพลูโตรึปล่าวครับ
ตอบลบเเละใช้เวลาเท่าใดครับผม....
*-*
ผมอยากรู้ว่าเเสงของดวงอาทิตย์ส่องไปถึงดาวพลูโตรึปล่าวครับ
ตอบลบเเละใช้เวลาเท่าใดครับผม....
*-*
ชอบๆๆดูเรื่องดาว https://www.youtube.com/watch?v=yeQxjD4uiRc
ตอบลบขอบคุณสำหรับความรู้นี้มากๆค่ะช่วยได้เยอะเลยค่ะ💗💗💗
ตอบลบ